1/16/2553

ฟิล์มนิรภัย


ฟิล์มนิรภัยจากประเทศอเมริกา ที่ใช้เวลาคิดค้น และพัฒนาขึ้นกว่า 10 ปี เพื่อให้ได้ฟิล์มนิรภัยที่มีคุณสมบัติเฉพาะ มีเนื้อฟิล์มเหนียว ทนทาน และกาวยึดติดกระจกที่แข็งแรงเหนียวแน่นมากกว่าฟิล์มทั่วไป มีคุณสมบัติที่โดดเด่นในเรื่องของการดูดซับแรงกระแทก สามารถเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับกระจกได้สูงสุดถึง 500 เท่า จึงสามารถลดความรุนแรงจากการเกิดอุบัติเหตุ ป้องกันอันตรายจากกระจกที่แตกกระจายยังเหมาะสมที่จะใช้ทดแทนลูกกรงเหล็กและเหล็กดัดที่ทำให้การเข้าออกยากลำบากเมื่อเกิดอัคคีภัย อีกทั้งยังคงความสวยงามของรูปแบบบ้านที่ตกแต่งด้วยกระจกและไม่บดบังทัศนียภาพรอบด้านอีกด้วย

ฟิล์มนิรภัย  http://www.vctechfilm.com/safety.html

ฟิล์มกรองแสงสำหรับอาคาร

วัตถุประสงค์ในการติดตั้งฟิล์มสำหรับอาคาร ที่พักอาศัยหรือสำนักงาน
1. การป้องกันภัยจากเศษกระจก โดยใช้ฟิล์มนิรภัย (Safety Film) คือ ในอาคารสูง ฟิล์มนิรภัยจะช่วยยึดกระจกไม่ให้หลุดร่วงลงมาทำอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน ในอาคาร, ที่พักอาศัย เศษกระจกอาจทำอันตรายกับคนที่คุณรักได้ การติดฟิล์มนิรภัยยังมีประโยชน์อื่นๆ ที่ได้รับอีกคือในฟิล์มนิรภัยบางรุ่นมีการเคลือบสารหรือโลหะที่ช่วยในการลดความร้อนจากแสงแดดอยู่ด้วย ฟิล์มกรองแสงสามารถลดรังสีอุลตร้าไวโอเลตหรือรังสียูวีได้กว่า 99% ซึ่งช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังและต้อกระจก ชะลอการซีดจางของอุปกรณ์และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ภายในอาคาร, ที่พักอาศัย ในระดับที่มีความหนาของเนื้อฟิล์มมากๆ จะสามารถใช้ป้องกันภัยจากกระสุนปืนหรือระเบิดรวมถึงการป้องกันการโจรกรรมได้
2. การป้องกันความร้อน, ประหยัดพลังงาน (Building Film) คือ การติดฟิล์มกรองแสงเพื่อลดความร้อนจากภายนอก เป็นการประหยัดพลังงานโดยตรง และมีประโยชน์อื่นๆ ที่ได้รับคือฟิล์มกรองแสงสามารถลดรังสีอุลตร้าไวโอเลตหรือรังสียูวีได้กว่า 99% ซึ่งช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังและต้อกระจก ฟิล์มกรองแสงสามารถชะลอการซีดจางของอุปกรณ์และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ภายในอาคาร, ที่พักอาศัย ฟิล์มกรองแสงสามารถสร้างความสวยงามภายนอกและไม่บดบังทัศนวิสัยในการมองจากภายใน สร้างความเป็นส่วนตัว ฟิล์มกรองแสงสามารถลดแสงจ้าจากภายนอก ทำให้รู้สึกสบายสายตา
3. การติดฟิล์มกรองแสงเพื่อตกแต่ง (Decorative Film) ฟิล์มกรองแสงสามารถติดตั้งเป็นลวดลายต่างๆ เพื่อความสวยงาม รวมถึงประโยชน์ด้านอื่นๆ เช่นการลดรังสีอุลตร้าไวโอเลต หรือการสร้างความเป็นส่วนตัวข้อแนะนำในการเลือกสินค้าหากต้องการรักษาความปลอดภัยจากเศษกระจกอย่างเดียวควรเลือกฟิล์มนิรภัย หากต้องการรักษาความปลอดภัยจากเศษกระจกและลดความร้อนควรเลือกฟิล์มนิรภัยที่มีส่วนผสมของโลหะหรือติดตั้งฟิล์มลดความร้อนทับอีกชั้น (ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ) หากต้องการลดความร้อนอย่างเดียวควรเลือก Building Films โดยพิจาณาถึงระดับความเข้มของฟิล์มตามต้องการ หากเป็นโชว์รูมหรือสำนักงานที่ต้องการโชว์ภายในแต่ต้องการฟิล์มกรองแสงที่สามารถลดความร้อนได้สูงแต่ต้องมีความใสหรือแสงส่องผ่านได้เยอะ

สิ่งที่น่ารู้เกี่ยวกับการติดตั้งฟิล์มอาคาร
1.ฟิล์มกรองแสงส่วนใหญ่เป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติพิเศษทางด้านการมองเห็น เช่น ในช่วงกลางวันหากเรามองจากภายนอกจะมองไม่เห็นภายในหรือเห็นแค่ลางๆ (ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มของฟิล์ม) แต่ในช่วงกลางคืนหากเปิดไฟภายในเมื่อมองจากภายนอกจะสามารถมองเห็นภายในได้ คือ ด้านที่มืดกว่าจะสามารถมองเห็นด้านที่สว่างกว่าได้
2.การติดฟิล์มนิรภัยมีส่วนช่วยให้การแตกตัวของกระจกลดน้อยลงบ้าง แต่ในกระจกบางประเภทหากติดฟิล์มที่มีสีเข้มเข้าไป จะเป็นตัวเพิ่มอัตราการแตกของกระจกมากขึ้น เกิดจากความร้อนที่สะสมอยู่ที่ฟิล์มและกระจกนั่นเอง
3. ฟิล์มบางชนิดบางยี่ห้อเป็นฟิล์มชนิดย้อมสีหรือสีในกาว เมื่อนำไปติดที่กระจกอาคารโดยเฉพาะด้านที่ถูกแสงแดดมากๆ จะมีการซีดจางของเนื้อฟิล์มเร็ว ควรพิจารณาก่อนในการตัดสินใจติดตั้ง

ข้อควรปฎิบัติในการดูแลรักษาฟิล์มกรองแสงหลังจากติดตั้ง

1. ห้ามเลื่อนกระจกขึ้น - ลง หรือ เช็ด ถูฟิล์ม ภายใน 7 วัน หลังจากติดตั้ง เนื่องจากกาวของฟิล์มกรองแสงจะใช้ระยะเวลาในการอยู่ตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม เช่น การถูกแสงแดด ควรจะรอให้ครบระยะเวลาก่อนจึงเลื่อนหรือเช็ดกระจกได้
2. หากมีปัญหาอื่นใด เช่น มีฟองอากาศ หรือ ฟิล์มอ้า ฯลฯ ให้รีบติดต่อศูนย์บริการภายในระยะเวลารับประกัน
3. ในการทำความสะอาดฟิล์มกรองแสง ควรใช้ผ้าสะอาด ผ้านุ่มหรือฟองน้ำ ร่วมกับน้ำยาทำความสะอาดฟิล์ม เพื่อกำจัดคราบมัน และไม่ควรนำวัสดุที่ลักษณะเป็นของแข็งหรือผิวไม่เรียบเช็ดถูที่กระจกเป็นอันขาด
4. ห้ามใช้น้ำยาเช็ดกระจกหรือสารเคมีที่มีส่วนประกอบของแอมโมเนีย ( NH4) เพราะอาจทำให้ ชั้นกันรอยของฟิล์มเสียหายได้
5. ควรหมั่นดูแลรักษาร่องกระจก ไม่ให้มีเศษทรายหรือก้อนกรวดค้างอยู่ในราง เพราะจะทำให้ฟิล์มกรองแสงเกิดความเสียหายได้

การทดสอบฟิล์มกรองแสง

ท่านผู้อ่านเชื่อไหมครับว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นต่างประเทศหรือบ้านเรา ไม่ค่อยจะมีความรู้ความเข้าใจแท้จริง เกี่ยวกับคุณสมบัติของฟิล์มกรองแสง ประกอบกับผู้ประกอบการส่วนมากไม่ค่อยจะสนใจเรื่องเกี่ยวกับการให้มาตรฐานที่ถูกต้องแท้จริง ในคุณลักษณะสินค้าฟิล์มกรองแสงกับผู้บริโภค
ทั้งนี้อาจเป็นเพราะประเทศเราไม่มีกฎหมายหรือมาตรฐานที่เป็นทางการ ที่จะเป็นตัวควบคุมการบอกคุณภาพของฟิล์มกรองแสง(Performance Properties of Window Film) ทำให้ผู้ประกอบการ(บางราย) ก็เขียนเอาเองแบบผิดๆถูกๆ จนผู้บริโภคเข้าใจผิด หรืองงจนไม่รู้เรื่องเอาเลย เวลาจะซื้อจะขาย หรือเลือกใช้ ก็มักจะเพียงดูยี่ห้อที่ตัวรู้จัก ราคาถูกบ้าง ของแถมบ้าง เป็นต้น
จริงๆแล้วการที่จะทำให้ผู้บริโภค หรือร้านค้าจำหน่ายติดตั้งเกี่ยวกับฟิล์มกรองแสงได้รับรู้ถึงคุณสมบัติ เช่น การลดความร้อนรวม(จากแสงแดด), การป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเลต, การลดคลื่นความร้อน(infrared) รวมถึงค่าการสะท้อนแสงของแผ่นฟิล์ม ตามที่กำหนดไว้ในข้อมูล คุณสมบัติ(Specification) ที่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้ากำหนดไว้ก็ดี สามารถที่จะใช้เครื่องมือวัด(Test Meter) วัดแผ่นฟิล์มกรองแสง(ก่อนติดตั้ง) หรือวัดแผ่นฟิล์มรวมกระจก หลังการติดตั้งกับรถ,อาคาร ได้อย่างไม่ยากเย็น ทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจได้ว่า ได้สินค้าที่มีคุณสมบัติดีจริงตามที่ต้องการ และยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการวัดเปรียบเทียบกับสินค้าแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อได้
ก่อนที่จะเข้าสู้รายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องมือต่างๆตลอดจนวิธีการอ่านค่า ผมขอบอกกล่าวถึงพื้นฐานคุณสมบัติของฟิล์มกรองแสง ว่าเข้าจะดูค่าอะไร? เพราะอะไร? มาเริ่มกันเลยครับ
วัตถุประสงค์สำคัญของการเลือกใช้ฟิล์มกรองแสง มี 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ
เพื่อป้องกันความร้อนจากแสงแดด รวมถึงการลดแสงจ้า รังสียูวี(Solar Control) โดยจะพิจารณาคุณสมบัติของการควบคุมคลื่นรังสีต่างๆของแสงแดด เพื่อป้องกันกระจกแตก กระจกหลุดร่วงเมื่อเกิดอุบัติเหตุ(Safety & Security) โดยคุณสมบัติหลักจะดูคุณภาพของความทนทานของเนื้อฟิล์ม,การยึดติดกับกระจก เรียกรวมๆว่าคุณสมบัติด้านฟิสิกส์(Physical Properties) บางครั้งผู้บริโภคก็มีวัตถุประสองทั้ง 2 ส่วนรวมกันก็ได้ การที่จะดูคุณสมบัติตามวัตถุประสงค์ ข้อแรก สามารถใช้เครื่องมือจากห้องปฏิบัติการ(Laboratory) ซึ่งอันนี้ต้องให้สถาบันและผู้เชี่ยวชาญทำการทดสอบให้ตามมาตรฐาน(Standard Method) กำหนดไว้ และปัจจุบันก็มีเครื่องมือทดสอบลำดับ Commercialหรือ Personal Use ได้แล้ว แต่ใน คุณสมบัติตามวัตถุประสงค์ข้อ 2 ปัจจุบันสามารถทำการทดสอบจากห้องปฏิบัติการ(Lab) เท่านั้น
ในส่วนของคุณสมบัติการลดความร้อน,รังสียูวี,รังสีอินฟราเรด และการสะท้อนแสงของแผ่นฟิล์มนั้น ในระดับการทดสอบของร้านค้าที่ให้บริหาร หรือบุคคลก็มีเครื่องมือทดสอบ ทั้งที่ได้มาตรฐาน และยังไม่ได้มาตรฐาน แต่ก็พอที่จะใช้งานได้ระดับหนึ่ง เพียงแต่ยังไม่ค่อยที่จะเป็นที่แพร่หลายนักในประเทศที่ยังไม่ค่อยพัฒนาตามที่กล่าวข้างต้น
ระดับการทดสอบคุณสมบัติของฟิล์มกรองแสง และฟิล์มประเภทอื่นๆ โดยทั่วไปทำกัน 2 ระดับ คือ
ระดับทอดสอบทางห้องปฏิบัติการ(Laboratory Test): การทดสอบในระดับนี้ สามารถทำได้กับทุกคุณสมบัติของแผ่นฟิล์มทั้งทางด้านแสง (Optical Properties) และด้านกายภาพ (Physical Properties) ด้วยมาตรฐานและวิธีการทดสอบตามสถาบันต่างๆ เช่น ASTM,JIS,ANSI เบื้องต้นการทดสอบก็จะทำในกลุ่มของโรงงานผู้ผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งห้องแลบที่อยู่ในประเทศไทย เช่น กรมวิทยาศาสตร์บริการ(กระทรวงวิทยาศาสตร์) หน่วยงานทดสอบของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เป็นต้น หรือตามห้องแลยที่มีชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับทั่วโลก เช่น PSB LAB ประเทศสิงคโปร์,Intertek Testing Service ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อทดสอบจนได้ผลแล้วผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการก้สามารถนำมาใช้อ้างอิงกับสินค้ารายการนั้นได้ แต่อย่างไรก็ตามสินค้าที่ผลิตออกมาจะได้คุณภาพตามที่กำหนดไว้ในการทดสอบหรือไม่ ก็คงต้องขึ้นอยู่กับความสามารถของการผลิตและการควบคุมคุณภาพการผลิต(QC) ของโรงงานนั้นๆเป็นสำคัญ
ระดับทดสอบของผู้ประกอบการ(Commercial Test): การทดสอบในระดับนี้ สามารถทำได้โดยผู้นำเข้า,ผู้ให้บริการ,ผู้จัดจำหน่ายก็ได้ โดยใช้เครื่องทดสอบ(Meter) ตามทที่ผู้เชี่ยวชาญของการผลิตเครื่องได้สร้างขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตามเครื่องมือที่จะนำมาทดสอบคุณสมบัติได้ทุกตัว และเครื่องมือทอดสอบจะต้องเป็นเครื่องมือที่ได้มาตรฐานในการวัดที่ถูกต้อง หรือผ่านการสอบเทียบ(Calibration) กับหน่วยงานหรือราชการที่เชื่อถือได้เสียก่อนจึงจะเป็นการดี ในระดับนี้ ปัจจุบันมีเครื่องมือทดสอบคุณภาพของฟิล์มกรองแสงให้เลือกใช้กันอย่าพอสมควร เช่น การทดสอบค่าการผ่านของแสงสว่าง(Visible Light Transmittion) ค่าการผ่านของรังสีอุลตร้าไวโอเลต(Ultra Violet Trasmittion) ค่าการผ่านของคลื่นรังสีอิฟราเรด(Infrared Light Transmittion) ค่าการสะท้อนของแสง (Visible Light Reflectance) หรือบางเครื่องก็มีความสามารถในการวัค่าของแสงที่ผิวฟิล์มได้ทั้งหมด เรียกว่า Photometer

1/07/2553

ฟิล์มกรองแสง HIKOOL


ฟิล์มกรองแสง Hi-Kool เป็นฟิล์มนำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นฟิล์มแห่งอนาคต เรียกว่า "สปัทเตอร์ฟิล์ม" (Sputter-Coated Metallized films) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยนำเอาโลหะชนิดต่างๆ มาเคลือบเป็นเนื้อเดียวกับฟิล์มทำให้ฟิล์ม มีความคงทน และกันความร้อนได้อย่างดีเยี่ยม โดยนักวิทยาศาสตร์ ได้ใช้พลังปรมาณู ยิงไปยังโลหะ ที่มีคุณสมบัติกันความร้อนสูง ภายใต้สภาพสูญญากาศ ทำให้โลหะ เกิดการแตกสภาพเป็นอะตอม ซึ่งเป็นอนุภาคเล็กที่สุด แล้วแยกตัว ลอยไปจับบนแผ่นใส Polyester ทีละอะตอม ทำให้เกิด แผ่นฟิล์มโลหะบางๆ เคลือบอยู่บน ผิวของแผ่น Polyester กลายเป็นฟิล์มกรองแสง Hi-Kool ซึ่งนอกจากกันความร้อนได้ดีเยี่ยมแล้ว ยังสามารถ ลดอันตราย จากการเกิดมะเร็งผิวหนัง และฝ้าบน ใบหน้า

ประโยชน์และคุณสมบัติของ ฟิล์มกรองแสง Hi-Kool
ลดความร้อนได้สูงสุดถึง 88% ป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเลต UV ได้ถึง 99% ลดแสงจ้าทำให้บรรยากาศภายในรถ หรือบ้าน-อาคาร สบายและน่าอยู่ ช่วยยึดเศษกระจกไม่ให้แตกกระจาย ช่วยประหยัดเงิน และพลังงาน ทำให้เครื่องปรับอากาศไม่ต้องทำงานหนักเกินควร ทำให้รถของท่านดูสวยงามและภูมิฐาน พร้อมทั้งให้ความเป็นส่วนตัว ให้ความปลอดภัย แก่ท่านและทรัพย์สิน

ฟิล์มกรองแสง Hi-Kool ทุกรุ่นเคลือบด้วยสารเคลือบแข็งป้องกันรอยขูดขีด ทำให้มีความคงทนให้ความปลอดภัย มีประสิทธิภาพสูงกว่าฟิล์มชนิดใดๆ ในตลาด บริษัทจึง กล้ารับประกัน ถึง 7 ปี มีชนิดและสี ให้เลือกมากที่สุดในประเทศไทย ตั้งแต่ฟิล์มใส จนถึงสีเข้ม
โครงสร้าง

ฟิล์มเคลือบละอองโลหะ


เป็นฟิล์มที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงโดยใช้วิธีทางวิทยาสาศตร์นำเอา อนุภาคของโลหะมาเคลือบไว้บนแผ่นโพลีเอสเตอร์ ทำให้สามารถสะท้อนพลังงานความร้อนได้ดียิ่งขึ้น จึงสามารถลด ความร้อน ได้ดีกว่าฟิล์มย้อมสีมาก อายุการใช้งานนานกว่าประมาณ 5 - 7ปี กาวและโพลีเอสเตอร์มีคุณภาพดีกว่า ราคาสูงกว่า
ดูตัวอย่างเเละสั่งซื้อฟิล์มเคลือบละอองโลหะได้ที่ http://www.vctechfilm.com/factory.html

ฟิล์มกรองแสง Lamina



จากก้าวแรก ภายใต้การริเริ่มของทีมงาน ผู้ก่อตั้งผสานความมุ่งมั่นตั้งใจ จากการศึกษาและสำรวจความต้องการของตลาดฟิล์มกรองแสงเมืองไทยอย่างเป็นระบบ ทำให้ทีมงานตัดสินใจก่อตั้ง บริษัท เทคโนเซล(เฟรย์) จำกัด ขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2538 ในฐานะบริษัทผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์ ฟิล์มอาคาร ฟิล์มนิรภัย ฟิล์มตกแต่ง และอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการติดตั้งฟิล์ม ที่นำเข้าจากโรงงานผู้ผลิตฟิล์มยักษ์ใหญ่ในอเมริกาโดยตรง ที่มีประสบการณ์กว่า 50 ปี
ในฐานะ 1 ใน 3 โรงงานผู้ผลิตฟิล์มกรองแสงที่ใหญ่ที่สุดของโลก ที่เป็นผู้เริ่มต้นพัฒนาขบวนการผลิตฟิล์มกรองแสงมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1950 จนถึงปัจจุบัน ได้รับการรับรองคุณภาพจากสถาบันระดับโลก AIMCAL , ASTM , ASHRAE และ IWFA ให้เป็นผู้นำเทคโนโลยีฟิล์มกรองแสงที่ได้มาตรฐานและทันสมัยที่สุด พร้อมมาตรฐานการผลิต ISO 9001 และสร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้ตลาดฟิล์มกรองแสงเมืองไทย อาทิ นำเสนอความแตกต่างในการทดสอบฟิล์มด้วยแสงแดดและสปอตไลท์ กลยุทธ์จำหน่ายฟิล์มคุณภาพสูงสุดในราคาที่เป็นธรรม ซื่อตรงและจริงใจ พร้อมด้วยทีมบุคลากรผู้เชี่ยวชาญระดับมืออาชีพ และศูนย์ตัวแทนจำหน่ายและติดตั้งอย่างเป็นทางการกว่า 270 แห่งทั่วไทย ที่ได้รับการฝึกอบรมขั้นตอนและเทคนิคพิเศษในการติดตั้งที่ทันสมัยเป็นประจำสม่ำเสมอ
ด้วยเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน มีการให้ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง พร้อมให้บริการดูแลภายหลังการติดตั้งด้วยทีมงานคุณภาพ จนทำให้บริษัทเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งและได้รับการต้อนรับจากร้านค้าและผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว ให้เป็นผู้นำตลาดฟิล์มกรองแสงระดับพรีเมี่ยม จนวันนี้บริษัทยังยึดมั่นที่จะก้าวต่อไป เพื่อนำความพึงพอใจสูงสุดมามอบให้กับผู้บริโภคในฐานะ "ผู้เชี่ยวชาญด้านฟิล์มกรองแสงทุกประเภทระดับโลก"

1/06/2553

ข้อควรปฎิบัติในการดูแลรักษาฟิล์มกรองแสงหลังจากติดตั้ง

1. ห้ามเลื่อนกระจกขึ้น - ลง หรือ เช็ด ถูฟิล์ม ภายใน 7 วัน หลังจากติดตั้ง เนื่องจากกาวของฟิล์มกรองแสงจะใช้ระยะเวลาในการอยู่ตัว
ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม เช่น การถูกแสงแดด ควรจะรอให้ครบระยะเวลาก่อนจึงเลื่อนหรือเช็ดกระจกได้
2. หากมีปัญหาอื่นใด เช่น มีฟองอากาศ หรือ ฟิล์มอ้า ฯลฯ ให้รีบติดต่อศูนย์บริการภายในระยะเวลารับประกัน
3. ในการทำความสะอาดฟิล์มกรองแสง ควรใช้ผ้าสะอาด ผ้านุ่มหรือฟองน้ำ ร่วมกับน้ำยาทำความสะอาดฟิล์ม เพื่อกำจัดคราบมัน และไม่ควร
นำวัสดุที่ลักษณะเป็นของแข็งหรือผิวไม่เรียบเช็ดถูที่กระจกเป็นอันขาด
4. ห้ามใช้น้ำยาเช็ดกระจกหรือสารเคมีที่มีส่วนประกอบของแอมโมเนีย ( NH4) เพราะอาจทำให้ ชั้นกันรอยของฟิล์มเสียหายได้
5. ควรหมั่นดูแลรักษาร่องกระจก ไม่ให้มีเศษทรายหรือก้อนกรวดค้างอยู่ในราง เพราะจะทำให้ฟิล์มกรองแสงเกิดความเสียหายได้

กฎหมายฟิล์มกรองแสง

ณ ปัจจุบันนี้ไม่มีกฎหมายควบคุมความเข้มของฟิล์มกรองแสงรถยนต์ คิดในแง่ดีเราได้รับความปลอดภัย
จากการมองเห็นจากบุคคลภายนอก แต่ในแง่ร้าย มีคนที่ใช้ประโยชน์จากการแอบแฝงตัวเพื่อก่ออาชญากรรม
โดยรถยนต์ แต่เรื่องนี้ก็เป็นมุมมอง 2 ด้าน ซึ่งในทางกฎหมายจริงๆแล้วที่กระจกบานหน้าสามารถติดฟิล์มกรองแสง
หรือสติ๊กเกอร์เพื่อป้องกันแสงแดดได้ไม่เกินเศษ 1 ส่วน 4 ของกระจก แต่สืบเนื่องจากบ้านเราเป็นเมืองร้อน
ทางเจ้าหน้าที่จะเข้าใจและอนุโลมให้ติดตั้ง ฟิล์มกรองแสง แบบเต็มบานได้ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็จะใช้ดุลยพินิจ เช่น
ติดฟิล์มกรองแสง แบบเต็มบานแต่ใช้ ฟิล์มกรองแสง ที่มีความทึบมากจนเกินไป เป็นต้น ดังนั้นฟิล์มกรองแสงแบบ
บานหน้าเต็มบานควรเลือกใช้ฟิล์มกรองแสงที่ไม่ทึบแสงมากและไม่ควรสะท้อนแสงจนเกินไป ฟิล์มกรองแสง
กับกฎหมายว่าด้วยเรื่องปรอทหรือการสะท้อนแสง การสะท้อนแสงของ ฟิล์มกรองแสง ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง
ซึ่งทำให้ผู้บริโภคหลายท่านต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลอกและติดตั้ง ฟิล์มกรองแสง กันมาบ้าง ซึ่งจริงๆแล้ว
ไม่มีกฎหมายที่ควบคุมการสะท้อนแสงของฟิล์มกรองแสงว่าควรจะสะท้อนไม่เกินกี่เปอร์เซ็นต์ ประกอบกับทาง
เจ้าหน้าที่เองก็ไม่ได้มีความพร้อมทางด้านเครื่องไม้เครื่องมือที่จะทำการวัดค่าการสะท้อนของฟิล์มกรองแสง
ตรงนี้เองทำให้เกิดความสับสนเป็นอย่างมาก ซึ่งจริงๆแล้วการสะท้อนแสงนั้น หากท่านสังเกตรถยนต์ที่ไม่ได้ติดตั้ง
ฟิล์มกรองแสง เช่น รถแท็กซี่ ในบางเวลาที่แสงแดดทำมุมกับกระจก ก็สามารถสะท้อนเข้าตา รบกวนผู้อื่นได้อยู่แล้ว
ดังนั้น ฟิล์มกรองแสงที่มีความสะท้อนของโลหะ ก็ไม่ได้เป็นปัจจัยหลักของการสะท้อนแสง แต่ก็มีรถยนต์ บางคัน
นำฟิล์มกรองแสงบางประเภทซึ่งใช้สำหรับในการติดตั้งอาคาร ซึ่งฟิล์มกรองแสงประเภทนี้จะมีค่าการสะท้อนแสงสูง
มาติดตั้งในรถยนต์ ซึ่งก็แล้วแต่ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ ซึ่งในเรื่องของดุลยพินิจของการสะท้อนแสงนี้ รวมถึงเรื่อง
กันชน กรอบป้ายทะเบียนหรืออุปกรณ์อื่นใดที่ติดตั้งบนตัวรถแล้วรบกวนการมองเห็นของผู้อื่น ทางเจ้าหน้าที่
สามารถใช้ดุลยพินิจในส่วนนี้ได้ในการจับกุม

ประโยชน์ของการติดฟิล์มกรองแสง

1.ช่วยลดความร้อน ฟิล์มกรองแสงที่ดีสามารถลดความร้อนได้ถึง 30-80%

2.ป้องกันผิวหนังและดวงตา โดยการติดฟิล์มกรองแสงสามารถลดรังสีอัลตร้าไวโอเลตหรือยูวีได้กว่า 99% ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งผิวหนังและต้อกระจก

3.ลดการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ฟิล์มกรองแสงที่ดีจะสามารถยึดกระจกไม่ให้แตกกระจายเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ทำให้ปลอดภัยจากความคมของเศษกระจก หรือเศษจากกระจกนิรภัย กระเด็นเข้าตา

4.เพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ การติดฟิล์มกรองแสงสามารถลดแสงจ้าจากดวงอาทิตย์, แสงไฟจากรถที่วิ่งสวนทาง ทำให้ช่วยเพิ่มวิสัยทัศน์ในการขับขี่ที่ดีขึ้น

5.สร้างความเป็นส่วนตัวและปลอดภัย การติดฟิล์มกรองแสงที่มีความทึบแสงจะช่วยบดบังผู้ประสงค์ร้ายภายนอก และบดบังทรัพย์สินภายใน

6. การติดฟิล์มกรองแสงจะช่วยปกป้องรถคุณ ไม่ให้อุปกรณ์ภายในรถไม่ว่าจะเป็นแผงหน้าปัด, คอนโซน, พวงมาลัย ฯลฯ ซีดจางและแตกร้าวเร็ว

7. ประหยัดพลังงาน การติดฟิล์มกรองแสงที่ดีสามารถช่วยประหยัดพลังงานและลดภาวะโลกร้อนได้ โดยการป้องกันความร้อนที่เข้ามาในตัวรถ ทำให้ระบบปรับความเย็นในรถ ทำงานน้อยลงจึงเป็นการช่วยประหยัดพลังงาน รวมถึงค่าดูแลรักษาระบบปรับความเย็นอีกด้วย

ประเภทของฟิล์มกรองแสง

ฟิล์มธรรมดา คือฟิล์มที่ไม่มีส่วนผสมของโลหะหรือสารอื่นใดที่ช่วยในการลดคลื่นรังสีความร้อน โดยจะมีโครงสร้างการผลิตอยู่คร่าวๆ 2 แบบคือ
1ชนิดสีผสมกาว (Color in adhesive)
2ชนิดสีอยู่ในเนื้อฟิล์ม (Color in P.E.T.)


ฟิล์มปรอท หรือ ฟิล์มเคลือบโลหะ และฟิล์มลดความร้อน คือฟิล์มที่นำโลหะเข้ามาเป็นส่วนผสมในการผลิต
โดยในปัจจุบันที่นิยมใช้มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ
1ชนิดสีผสมกาวเคลือบด้วยแผ่นโลหะ (Color in adhesive with Metalized P.E.T.)
2 ชนิดสีอยู่ในเนื้อฟิล์มเคลือบด้วยแผ่นโลหะ (Color in P.E.T. with Metalized P.E.T.)


ฟิล์มอินฟราเรด (Infrared Film) เป็นฟิล์มชนิดที่เคลือบสารพิเศษในการไปตัดรังสีอินฟราเรดได้ดี ซึ่งรังสีอินฟราเรดเป็นส่วนประกอบหนึ่งของความร้อน (ดูการลดความร้อนของฟิล์มในช่วงต่อไป) แต่จากการโฆษณาทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อว่าสามารถลดความร้อนได้ดี โดยใช้ตัวเลขในการลดรังสีอินฟราเรดเป็นตัวโฆษณาและมีราคาที่สูงมาก ทำให้ตลาดไม่ค่อยตอบรับเท่าที่ควร แต่ในปัจจุบันมีสินค้าประเภทนี้ที่มีราคาถูกลงให้ได้เลือกกันมากขึ้น
ฟิล์มนิรภัย (Safety Film) เป็นฟิล์มชนิดที่มีความหนาตั้งแต่ 4 MIL ขึ้นไป (1 MIL = 1/1000 นิ้ว)
มีทั้งชนิดลดความร้อนและไม่ลดความร้อน ส่วนมากจะใช้ในงานอาคารสูงเพื่อยึดกระจกไว้เวลากระจกแตก